กลไกการเผาผลาญอาหารในร่างกาย
เป็นที่ทราบกันดีว่าสารอาหารที่ให้พลังงานได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน เมื่อเราได้รับสารอาหารโดยการรับประทานเข้าไปแล้ว อาหารจะถูกย่อยและดูดซึมในระบบทางเดินอาหาร นำสารอาหารเข้าสู่กระแสเลือด สารอาหารเหล่านี้จะถูกเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกายนำไปผ่านกระบวนการเมตาบอลิซึม (Metabolism) จนได้เป็นสารเคมีที่มีพลังงานสูงที่เรียกว่า adenosine triphosphate (ATP) เก็บไว้เป็นแหล่งพลังงานของเซลล์
จากภาพ โปรตีน (Proteins) จะถูกย่อยสลายเป็น กรดอะมิโน(amino acid), คาร์โบไฮเดรต จะถูกย่อยเป็น กลูโคส (Glucose),ไขมัน จะถูกย่อยเป็น กรดไขมัน (Fatty acid) จากนั้น สารอาหารเหล่านั้นจึงจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย แล้วจึงถูกนำเข้าสู่ไมโตคอนเดรีย mitochondria (ส่วนที่เป็นสีเขียว) ที่อยู่ภายในเซลล์ทุกๆ เซลล์ของร่างกาย และในไมโตคอนเดรียนี้จะเกิดปฏิกิริยา Beta-Oxidation ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้กรดไขมันสลายตัวเพื่อสร้างเป็น ATP ในที่สุด
หนักเท่าไหร่ถึงเรียกว่า "อ้วน"
อาจจะคำนวณแบบง่ายด้วยการนำ ส่วนสูงมาลบด้วยค่ามาตรฐาน (ถ้าเป็นผู้ชายก็คือ ลบด้วย 100 ถ้าเป็นผู้หญิงก็ลบด้วย 110) ถ้าน้ำหนักตัวที่เป็นอยู่มากกว่าค่าตัวเลขที่คำนวณได้ก็ถือว่าอ้วน
นอกจากนี้ยังมีสูตรการคำนวณที่เป็นการวัดค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) ซึ่งสูตรในการคำนวณคือ BMI = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร2)
นอกจากนี้ยังมีสูตรการคำนวณที่เป็นการวัดค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) ซึ่งสูตรในการคำนวณคือ BMI = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร2)
ถ้าได้ค่าอยู่ระหว่าง 18.5-24.9 กิโลกรัม / ตารางเมตร ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ถ้าอยู่ระหว่าง 25-29.9 คือ เริ่มอ้วนแล้วเพราะน้ำหนักเกิน ถ้าเกิน 30 กิโลกรัม/ตารางเมตร แสดงว่าเป็นโรคอ้วน
สาเหตุของความอ้วน ความอ้วน หรือการมีทรวดทรงไม่สมสัดส่วนนั้น ในทางวิทยาศาสตร์พบว่าล้วนแต่มีสาเหตุหลักมาจากสารอาหารสำคัญ2กลุ่มคือ สารอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต (Carbohydrates) ซึ่งได้แก่ แป้ง ข้าว ขนมปัง น้ำตาล ฯลฯ และ สารอาหารในกลุ่มไขมัน (Fats) ซึ่งได้แก่ น้ำมันจากสัตว์ น้ำมันจากพืช เนย ฯลฯ
เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารเหล่านี้มากเกินความต้องการ ก็จะเกิดการสะสมในรูปของกรดไขมันสะสมตามส่วนต่างๆ ซึ่งไขมันสะสมเหล่านี้จะมีประโยชน์เพียงอย่างเดียวคือ เป็นแหล่งพลังงานสำรอง หากร่างกายไม่มีการใช้แหล่งพลังงานสำรองสะสมนั้นออกไป แต่ยังกลับได้รับสารอาหารดังกล่าวเกินความต้องการมากขึ้น ก็จะยิ่งทำให้เกิดการสะสมของกรดไขมันในร่างกาย จนทำให้เกิดปัญหาเรื่องของน้ำหนักตัวขึ้นได้ ดังนั้นโดยสรุปแล้ว ช่องทางของการเกิดภาวะความอ้วนหรือความไม่สมสัดส่วนของรูปร่างนั้นมาจาก 2 ปัจจัยหลักด้วยกัน คือ
-การได้รับสารอาหาร ที่ก่อให้เกิดไขมันใหม่เข้าสู่ร่างกายได้แก่ คาร์โบไฮเดรด และไขมันมากเกิน ความต้องการของร่างกาย
-การที่ร่างกายไม่มีการนำไขมันสะสมเก่าไปเผาผลาญเป็นพลังงาน หรือมีแต่นำ ไปใช้แต่เพียงเล็กน้อย
ดังนั้นวิธีการในการลดความอ้วน ก็คือการแก้ไขปัญหาที่เป็นสาเหตุหลักๆดังกล่าว โดยการจำกัดสารอาหารที่เป็นปัญหาเข้าสู่ร่างกาย และการสลายหรือนำเอาไขมันสะสมไปเผาผลาญเป็นพลังงาน ขบวนการดังกล่าวถึงแม้ว่าจะมีขั้นตอนง่ายๆ เพียง 2 ขั้นตอนแต่ปรากฏว่าทั้ง 2 ขั้นตอนนั้นเกี่ยวข้องกับขบวนการทางชีวเคมีในร่างกายที่สลับซับซ้อน และล้วนเป็นขบวนการทางชีวเคมีที่จะต้องใช้สารสำคัญต่างๆเข้ามาช่วยอย่างมากมาย
-การได้รับสารอาหาร ที่ก่อให้เกิดไขมันใหม่เข้าสู่ร่างกายได้แก่ คาร์โบไฮเดรด และไขมันมากเกิน ความต้องการของร่างกาย
-การที่ร่างกายไม่มีการนำไขมันสะสมเก่าไปเผาผลาญเป็นพลังงาน หรือมีแต่นำ ไปใช้แต่เพียงเล็กน้อย
ดังนั้นวิธีการในการลดความอ้วน ก็คือการแก้ไขปัญหาที่เป็นสาเหตุหลักๆดังกล่าว โดยการจำกัดสารอาหารที่เป็นปัญหาเข้าสู่ร่างกาย และการสลายหรือนำเอาไขมันสะสมไปเผาผลาญเป็นพลังงาน ขบวนการดังกล่าวถึงแม้ว่าจะมีขั้นตอนง่ายๆ เพียง 2 ขั้นตอนแต่ปรากฏว่าทั้ง 2 ขั้นตอนนั้นเกี่ยวข้องกับขบวนการทางชีวเคมีในร่างกายที่สลับซับซ้อน และล้วนเป็นขบวนการทางชีวเคมีที่จะต้องใช้สารสำคัญต่างๆเข้ามาช่วยอย่างมากมาย
สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ทำการค้นคว้าวิจัย และพบว่าสามารถช่วยให้เกิดขบวนการดังกล่าวทั้ง 2 ขั้นตอนได้ดีขึ้น โดยไม่มีอันตรายต่อร่างกาย ก็คือการใช้สารอาหารสำคัญที่ได้จากธรรมชาติหรือที่เราเรียกกันทั่วไปว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่ให้สารสำคัญหลายๆชนิดร่วมกัน ให้ครอบคลุมทุกขบวนการทางชีวเคมีที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้นทั้งหมด โดยร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญไขมันสะสม และการพักผ่อนอย่างเหมาะสมและเพียงพอ ดังนั้นการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับการควบคุมน้ำหนัก ควรจะได้รับสารอาหารจากธรรมชาติดังกล่าวหลายชนิดร่วมกัน พร้อมกับการออกกำลังกายให้อย่างต่อเนื่องและเหมาะสม รวมทั้งรู้จักเลือกรับประทานอาหารจำพวกไขมันและคาร์โบไฮเดรตน้อยลง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น