กระดูกพรุน...ภัยเงียบของผู้หญิง
กระดูกประกอบด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม โปแตสเซียม สังกะสี และคอปเปอร์ หน้าที่หลักของกระดูกคือค้ำจุนโครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การสะสมแร่ธาตุ และการสร้างเซลล์เม็ดเลือด กระดูกเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อกระดูก (Osseous Tissue) ที่มีความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา มีการเจริญของเนื้อเยื่อกระดูกในรูปแบบที่แตกต่างกัน ทำให้กระดูกเป็นอวัยวะที่มีหลายรูปร่างลักษณะ เพื่อให้สอดคล้องกันกับการทำงานของกระดูกในแต่ละส่วน กระดูกมีการเสื่อมสภาพ สามารถซ่อมแซมตัวเอง และสร้างขึ้นมาใหม่ได้เหมือนกับเนื้อเยื่ออื่นๆในร่างกาย โดยใช้แร่ธาตุต่างๆช่วยในการเสริมสร้างส่วนประกอบในกระดูก หากกระดูกขาดแร่ธาตุ ก็จะมีความหนาแน่นของแร่ธาตุในกระดูกต่ำ และไม่มีความแข็งแรงโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นโรคที่กระทบต่อคนนับล้าน ซึ่งเป็นผลมาจากพันธุกรรม การรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย เราสามารถปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย เพื่อพัฒนาและบำรุงรักษามวลกระดูก ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนได้
ตัวแปรสำคัญสองตัวที่ก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุน ได้แก่ การมีมวลกระดูกที่ลดน้อยลง และอัตราการสูญเสียกระดูก การรักษาสุขภาพของกระดูกให้อยู่ในภาวะที่แข็งแรงสามารถทำได้โดย เพิ่มมวลกระดูกในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น (อายุระหว่าง 18-35 ปี) และลดการสูญเสียกระดูกในวัยผู้ใหญ่ (อายุระหว่าง 36 ปีขึ้นไป) โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหลังหมดประจำเดือนหรือช่วงวัยทอง (Post-Menopause)
ข้อมูลในประเทศสหรัฐอเมริกา
* มีเพียงเด็กผู้หญิง 13.5% และเด็กผู้ชาย 36.3% อายุระหว่าง 12-19 ปี ในสหรัฐฯ ที่ได้ รับปริมาณแคลเซียมอย่างเพียงพอในแต่ละวัน (ที่กำหนดโดยค่า RDA)
* ประชากรจำนวน 10 ล้านคนเท่านั้นที่ได้รับการรักษาโรคกระดูกพรุน
* ประชากรจำนวน 34 ล้านคนอยู่ในกลุ่มเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุน (มีความหนาแน่นของกระดูกต่ำ)
* ประชากรจำนวน 55% ที่มีอายุเกิน 50 ปีได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคกระดูกพรุน
* ประชากรจำนวน 80% ที่เป็นโรคกระดูกพรุนเป็นผู้หญิง
ฉะนั้นการรับประทานแคลเซียมเสริมจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการป้องกันและลดภาวการณ์เกิดโรคกระดูกพรุนได้ ซึ่งนอกจากแคลเซียมแล้ว ควรจะเสริมแร่ธาตุอื่นๆเป็นส่วนประกอบด้วย เช่น ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม สังกะสีคอปเปอร์ เหล็ก และโปแตสเซียม ทั้งหมดนี้ล้วนมีความสำคัญต่อการเสริมสร้างกระดูกเช่นกัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น