RSS

เบาหวาน


เบาหวานคือ กลุ่มอาการที่ร่างกายมีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องมาจากการขาดอินซูลิน ซึ่งอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่สร้างโดยตับอ่อน
มีหน้าที่นำน้ำตาลกลูโคสที่ได้จากการย่อยของอาหาร จากกระแสเลือดเข้าสู่ร่างกาย เพื่อนำไปใช้ เมื่อร่างกายขาดอินซูลิน 
จะทำให้น้ำตาลในกระแลโลหิต มีปริมาณสูงและร่างกายของเราก็จะขับน้ำตาลที่มีปริมาณสูงเหล่านี้ออกมาทางปัสสาวะ และ 
ปัสสาวะก็จะมีความหวาน คนสมัยก่อนเรียกการปัสสาวะว่าเบา และเมื่อเบาออกมามีความหวานก็เลยเรียกอาการนี้ว่า
เบาหวาน
สาเหตุ
1. ความอ้วน
2. รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลมากและหวานจัด
3. ความเครียด
อาการและอาการแสดง
กระหายน้ำดื่มน้ำบ่อยและมาก
2.ปัสสาวะบ่อยและมาก
3.กินอาหารบ่อย
4.เป็นแผลหรือฝีและหายยาก
5.คันตามผิวหนัง ชาตามปลายนิ้วมือและปลายเท้า
6.ตาพล่ามัว
7.ความรู้สึกทางเพศลดลง
การตรวจวินิจฉัยโรค
เมื่อเกิดอาการดังกล่าวควรไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจ เพื่อทราบระดับน้ำตาล โดยสามารถตรวจได้ 2 วิธีคือ
1. ตรวจด้วยปัสสาวะ
2. วัดระดับน้ำตาลในเลือดโดยการตรวจเลือด โดย แพทย์จะให้เรางด น้ำและอาหาร 6-8 ชั่วโมง
ถ้าระดับน้ำตาลในเลือด ขณะงดน้าและอาหาร 6-8 ชั่วโมง สูงกว่า 126 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เราเป็นเบาหวาน คนปกติ
จะอยู่ที่ 80-126 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
เบาหวานชนิดที่หนึ่ง -  เบาหวานแห้ง- ผู้ป่วยจะเกิดอาการหิวน้ำบ่อย น้ำหนักลด เกิด ketosis ได้ง่าย 
เบาหวานชนิดที่สอง
-
เบาหวานอ้วน-  จะเป็นโรคเบาหวานโดยที่ไม่เกิดอาการอะไร อาการของโรคเบาหวานมักจะมีโรคแทรกซ้อน 
เบาหวานชนิดนี้อาจเรียกว่า เบาหวานชนิดดื้อ ต่ออินซูลิน จากากรศึกษา พบว่า มีการดื้อต่ออินซูลินก่อน เป็นเบาหวานและเกิดโรคทางหลอดเลือดและหัวใจตามมา โดยในแต่ละปี มีคนเสียชีวิต ด้วยโรคเบาหวานโดยมีอาการทางหลอดเลือดและหัวใจและอัมพาต 
   การดื้อต่ออินซูลินนั้นสำคัญต่อกระบวนการ เผาผลาญอาหารที่ไม่สมดุลของร่างกาย โรคเบาหวานเกิด ขึ้นเมื่อร่างกาย ไม่สามารถใช้ อินซูลินได้ อย่างเต็มที่ และเมื่อร่างกาย เกิดภาวะดื้อ ต่ออินซูลินที่สร้างขึ้นมา จะทำให้ตับอ่อน ต้องหลั่งอินซูลินมากขึ้น เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติเมื่อ เวลาผ่านไปเซลล์ที่ ผลิตอินซูลิน เกิดความผิดปกติทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและกลายเป็นสาเหตุ ของโรคเบาหวานในเวลาต่อมา
การรักษา
โรคเบาหวานไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ต้องทำการรักษาตลอดชีวิต 
โดยผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างสม่ำเสมอโดยแพทย์
1. ให้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ส่วนใหญ่ใช้ใน คนไข้ที่ที่เริ่มเป็นในวัยผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ
2. ฉีดฮอร์โมนอินซูลิน 
แพทย์จะเป็นผู้ให้ยาและคอยสังเกต ระดับน้ำตาลเพื่อให้ยาและควรระวังโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น
อาหารสำหรับผู้ป่วย
1. งดน้ำตาลและอาหารหวานตลอดจนผลไม้ที่มีความหวานทุกชนิดทุกชนิด 
2. งดอาหารและผลไม้ที่ให้แครอรี่สูง ๆ ทุกชนิดและงดเหล้าเบียร์ทุกประเภท
3.รับประทานผัก สมุนไพร หรือพืชที่ให้กากใยอาหารมาก เช่น ผักกาดขาว ผักบุ้งไทย ผักกวางตุ้ง 
ผักโขม แตงกวา ตำลึง สายบัว กะหล่ำปลีและผักใบสีเขียวต่าง ๆ
จะเห็นได้ว่า การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพืชสมุนไพร จะช่วยป้องกันโรคเหล่านี้ การป้องกัน ดีกว่าการรักษา
อาการแทรกซ้อนเมื่อเราเป็นเบาหวาน
   1. โรคหลอดเลือด หัวใจตีบ ผู้ป่วยเบาหวาน อาจมี ภาวะที่มีระดับ ไตรกรีเซอราย สูง มีไขมันชนิดอิ่มตัว ( LDL )สูงและ ไขมันชนิดไม่อิ่มตัวต่ำ ( HDL )ส่งผลให้ ระดับคลอเรสเตอรอลสูง เมื่อร่างกายกำจัดออกไม่หมด คลอเรสเตอจะไปจับตัวอยู่ที่ผนังของหลอดเลือด จึงทำให้เกิดอาการ หลอดเลือดตีบตัน เป็นสาเหตุของโรคความดัน โลหิตสูง ในข้อต่อไป จะขอขยายความเพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ
ไขมันที่เรารับประทานเข้าไปเพื่อให้พลังงาน จะถูกย่อยเป็น ไตรกรีเซอราย เพื่อส่งไปให้เซลร่างกายใช้ เมื่อถูกใช้ไปแล้วก็จะเปลี่ยนจาก
ไตรกรีเซอรายเป็น คลอเรสเตอรอล ร่างกายจะนำ คลอเรสเตอรอลไปทำลายทิ้งที่ไต ต่อไป
   2.ความดันโลหิต เป็นภาคที่ 2 ต่อจาก ข้อที่
   3.โรคไต ไขมันที่เรารับประทานเข้าไปเพื่อให้พลังงาน จะถูกย่อยเป็น ไตรกรีเซอราย เพื่อส่งไปให้เซลร่างกายใช้ เมื่อถูกใช้ไปแล้วก็จะเปลี่ยนจาก ไตรกรีเซอรายเป็น คลอเรสเตอรอล ร่างกายจะนำ คลอเรสเตอรอลไปทำลายทิ้งที่ไต ต่อไปเมื่อไตทำงานหนัก ไตก็จะเสื่อมลงไปเรื่อย ๆ จนเกิดอาการไตวายเรื้อรัง ไม่สามารถขับของเสียออกจากร่างกายได้จึงทำให้คนไขเกิดอาการบวม นำไปสู่การล้างหรือฟอกไต ด้วยเครื่องฟอกไต การฟอกไต ต้องทำ ทุกๆ 2-4 ครั้งต่อเดือน และแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่าย 2000 - 5000 บาท
ลองคิดดูว่า ต้องล้างไต 2 - 4 ครั้งจะเป็นเงินที่คนไทยต้องจ่ายไปเท่าไร และหากว่าเราไม่มีความสามารถที่จะหาเงินได้ขนาดนั้น ชีวิตของคนไทยหลาย ๆ คนต้องจากไปอย่างน่าเสียดาย
   4.ตาของผู้ป่วย ระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือไม่ควบคุมระดับน้ำตาลสม่ำเสมอ เป็นสาเหตุให้เส้นเลือดฝอยที่อยู่บนจอตาถูกทำลาย ตาของเราจะไม่บอดทันทีแต่จะมีการเจริญเติบโตของเส้นเลือดใหม่เกิดขึ้นได้ และเส้นเลือดใหม่เหล่านี้มักจะเป็นเส้นเลือดที่ไม่แข็งแรงและแตกง่ายเป็นสาเหตุของแผลเป็น ซึ่งจะทำให้จอตาหลุด จากด้านหลังของผนัง
ด้านหลังของลูกตา ซึ่งถ้าไม่รักษาจะทำให้ตาบอดได้ ในระยะต่อมาเส้นเลือดที่ผิดปกติเหล่านี้ จะเกิดขึ้นที่ม่านตา ทำให้เกิดต้อหิน และในที่สุดจะมีอาการบวมของประสาทตา ทำให้ตาบอดซึ่งการรักษาต้องผ่าตัด
ข้อมูลจากศูนย์ส่งเสริมสุขภาพโรงพยาบาล มหาราชนครเชียงใหม่

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น